นักเรียนโรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม ลงพื้นที่ศึกษาอัตลักษณ์ชุมชุนการทอผ้าไหมบ้านลานไผ่ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชน และเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาเผยแพร่ข้อมูล รูปแบบ ลวดลายผ้าไหม สู่ประชาชนภายนอก ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การลงพื้นที่เก็บรวบรวม ข้อมูลอัตลักษณ์ของชุมชน มีวิธีการศึกษา คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการประชุมสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า
คนในพื้นที่เห็นว่าอัตลักษณ์ของชุมชนการทอผ้าบ้านลานไผ่ ๑. มีรูปแบบ ลวดลาย เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ๒. ชุมชนในหมู่บ้านลานไผ่ เกิดจากการอพยพมาจากชุมชนต่างถิ่น ๓ ชุมชน ดังนี้ ๒.๑ ชุมชนมาจากจังหวัดตาก ขณะนั้นประสบปัญหาน้ าท่วม เนื่องจาก การสร้างเขื่อนยันฮีหรือเขื่อนภูมิพลในปัจจุบัน ๒.๒ ชุมชนมาจากจังหวัดสุโขทัย ซึ่งสมัยนั้นเกิดการแพร่ระบาดของโรคห่า หรือโรคฝีดาษ ๒.๓ ชุมชนมาจากจังหวัดขอนแก่น เป็นประชาชนที่อพยพหนีภัยแล้งจากภาคอีสาน ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานจนเกิดเป็นหมู่บ้านลานไผ่ พื้นฐานการทอผ้าจึงมาจากภาคอีสาน ซึ่งการทอผ้าไหมมีอัตลักษณ์ในเรื่องความแตกต่างของเนื้อผ้า สีสัน ลวดลาย เช่น ลายกำแพงเมืองสื่อความหมายถึงจังหวัดกำแพงเพชร ลายลานไผ่สื่อความหมาย ถึงชุมชนบ้านลานไผ่ ลายมาตรฐานคือลายนกยูงสีทองของกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตร- และสหกรณ์ ด้วยการใช้สีย้อมจากธรรมชาติ เช่น สีเขียวที่ได้จากใบกระเพรา ใบมันสำปะหลัง สีโอรสจากดอกทองกวาว สีดำจากลูกมะเดื่อ สีชมพูจากเปลือกมะพร้าวน้ำหอม โดยใช้วัตถุดิบในชุมชนที่มีอยู่แล้วและชุมชนนี้ได้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยมี ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จังหวัดหวัดตาก เป็นหน่วยงานราชการที่เข้ามาให้การส่งเสริม สนับสนุนให้มีการอนุรักษ์เป็นผลิตภัณฑ์ ของชุมชนและดำเนินการต่อยอดให้เกิดมูลค่ามากยิ่งขึ้น